วันจันทร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2553

พระภูมิเจ้าที่

พระภูมิเจ้าที่

เปิดต้นตำนานพระภูมิเจ้าที่

ตามความเชื่อแล้วถือกันว่าพระภูมิเจ้าที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันมีพลังอำนาจสามารถคุ้มครองปกป้อง แก่ผู้ที่เคารพนับถือ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวมีส่วนซึ่งได้รับอิทธิพลการสืบทอดทางความเชื่อมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผสมผสานกับศาสนาพุทธจนเกิดเป็นความเชื่อที่ว่า พระภูมิเจ้าที่ คือเทวดาหรือเทพารักษ์ อันมีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองแก่พื้นที่บนโลกบริเวณส่วนต่างๆให้บังเกิดสันติสุข และความปลอดภัย การตั้งหรือการสร้างศาลพระภูมิ ก็เพื่อที่จะให้พระภูมิหรือเทพารักษ์เอาไว้เป็นที่สำหรับสถิต อันมีความเชื่อเล่าสู่กันมาว่า นานมาแล้วยังปรากฏว่ามีกษัตริย์พระองค์หนึ่งมีพระนามว่า ?ท้าวทศราช? ปกครองกรุงพาลี อย่างขาดทศพิธราชธรรมนำพามาซึ่งความเดือดร้อนไปทั่วทุกหย่อมหญ้า แม้พระนางสันทาทุกข์พระมเหสี และพระโอรสทั้ง 9 พระองค์จะทูลขอให้พระบิดาทรงยุติพฤติกรรมดังกล่าวแต่ก็ไม่เป็นผล ร้อนถึงองค์พระนารายณ์ต้องลงมาปราบโดยการจำแลงกายเป็นพราหมณ์เตี้ยเดินทางมาขอรับบริจาคทานที่ดินจากท้าวทศราช สืบเนื่องด้วยขณะนั้นเองท้าวทศราชกำลังกระทำการเสริมอิทธิฤทธิ์บุญบารมี(พิธียัญญกิจ)เล็งเห็นว่าการบริจาคทานแก่พราหมณ์เตี้ยจะเป็นการเสริมฤทธิ์อำนาจของตนให้มีสูงขึ้น จึงพูดกับพราหมณ์เตี้ยว่า ?ท่านอยากได้ทานที่ดินเพื่อประกอบกิจใดใดก็ขอให้บอก เราจะให้? พราหมณ์เตี้ยจึงทูลขอที่ดินเพียงแค่ 3 ย่างก้าวเท่านั้น เนื่องด้วยขณะนั้นเองท้าวทศราชมิได้คิดไตร่ตรองให้ดีจึงทรงพระราชทานที่ดินจำนวน 3 ย่างก้าวให้ เมื่อกลอุบายสำเร็จพระนารายณ์จึงคืนร่างเดิมพร้อมทั้งเหยียบเท้าไปบนที่ดินจำนวน 3 ย่างก้าวตามที่ขอไว้ กล่าวคือ ก้าวแรกเหยียบไปยังโลกมนุษย์ ก้าวสองเหยียบไปยังโลกสวรรค์ ก้าวสามเหยียบไปยังโลกนรก ท้าวทศราชจึงไม่มีที่ดินอยู่อาศัยต้องอยู่อย่างทุกข์ทรมาน ต่อมาพระนารายณ์เห็นใจท้าวทศราชจึงลดโทษให้ด้วยการยินยอมให้ท้าวทศราชมีที่อยู่อาศัย แต่ต้องขออนุญาตและกระทำการบูชาพระภูมิเจ้าที่ในบริเวณนั้นเสียก่อน ซึ่งก็คือการบูชาพระโอรสทั้ง 9 ของพระองค์นั้นเอง ต่อมาจึงเกิดเป็นประเพณีการตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ขึ้นสืบต่อกันมาจวบจนปัจจุบัน ดังนี้

1.พระชัยมงคล ปกครองบ้านเมือง
2.พระนครราช ปกครองป้อมปราการ
3.พระเทเพน ปกครองป่าเขา
4.พระชัยศพณ์ ปกครองยุ้งฉาง
5.พระคนธรรพ์ ปกครองเรือนหอ
6.พระธรรมโหรา ปกครองสวน ไร่ นา
7.พระเทวะเถระ ปกครองวัด
8.พระธรรมิกราช ปกครองพืชพันธุ์ธัญญาหารทั้งปวง
9.พระทาสธารา ปกครองห้วย หนอง คลอง บึง และลำธาร เป็นต้น

ที่มา
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=140.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม